ความมืดมนของสังสาระอันยากที่จะกำจัด
พระองค์ทรงเอาชนะได้ดุจแสงแห่งตะวัน
ข้าพเจ้าขอกราบองค์ตาราไปตลอดกาลนาน
ผู้ซึ่งพระหทัยเปี่ยมไปด้วยความกรุณา
[พระอาจารย์จันทรโคมิน]
ขอนอบน้อมแด่องค์อารยาตาราเทวี!
ความมืดมนของสังสาระอันยากที่จะกำจัด
พระองค์ทรงเอาชนะได้ดุจแสงแห่งตะวัน
ข้าฯขอกราบองค์ตาราไปตลอดกาลนาน ผู้ซึ่งพระหทัยเปี่ยมไปด้วยความกรุณา
องค์พระเทวี ด้วยพรของพระองค์ สิงห์ อันดุร้าย
ซึ่งสามารถฆ่าได้แม้คชาธารอันใหญ่ยิ่ง
และเฉลียวฉลาดเป็นอันมาก
ก็ยังตื่นกลัวและเตลิดหนีออกไป
พญาช้างสาร ซึ่งสามารถแยกหินออกจากกัน
และถอนต้นไม้ออกมาได้ด้วยงาอันแหลมคม
แต่เมื่อข้าฯท่องมนตร์ของพระองค์
ช้างนั้นก็วิ่งหนีไปด้วยความตกใจกลัว
เปลวเพลิง ที่เผาผลาญทุกสถานที่
ด้วยกำลังอันแรงกล้า และที่ทนได้ยากยิ่ง
เปลวเพลิงที่ลุกโชติช่วงโหมไหม้นิเวศสถาน
แต่สายฝนอันได้แก่พรของพระองค์ก็ดับไฟนั้นลง
งู ที่ส่งเสียงแหลมสูง ซึ่งเปล่งออกมาจาก
ลำคออันเต็มไปด้วยพิษร้าย
งูนั้นกลับเกรงกลัวคำสรรเสริญองค์พระเทวี
ดุจดังเกรงกลัวกำลังของพญาครุฑ
แม้เหล่าโจรร้าย จะตัดผู้เดินทางเป็นชิ้นๆ
และแขนขาของโจรเหล่านั้นจะเปื้อนเลือด
แต่เมื่อโจรเหล่านั้นได้ยินพระนามของพระองค์
ก็สูญสิ้นซึ่งกำลังใดๆ
เมื่อใครคนหนึ่งถูกราชมันซึ่งรับใช้พระราชา
ดึงผม และ ล่ามด้วยโซ่
แต่หากใครคนนั้นสรรเสริญพระเทวี
ผู้ทรงช่วยให้รอดจากคุกตาราง ก็จะปราศจากความกลัว
เมื่อคลื่นยักษ์โหมกระหน่ำจากทั้งสิบทิศ
และจากท้องฟ้าอีกด้วย ผู้ที่เป็นข้าของพระองค์
ซึ่งลอยคออยู่ในท้องทะเล หลังจากที่เรืออับปาง
ก็จะปลอดภัยถึงฝั่ง
เหล่าปิศาจ ซึ่งเต็มไปด้วยคราบเลือดและคราบสมอง
ซึ่งปิศาจนั้นชอบกินเป็นอาหาร
โอพระเทวี! ปิศาจนั้นก็เตลิดหนีไป
เพียงเมื่อได้ยินบทมนตราของพระองค์
ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมจากโรคเรื้อน แขนขาขาด
มีหยดเลือดและหนองไหลออกมาจากจมูก
แต่เมื่อเขาเหล่านั้นมาร่วมตัวอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์
พวกเขาก็เปรียบเสมือนเทพบุตรเทพธิดาบนสรวงสวรรค์
ขอทาน ซึ่งซูบผอมดุจเปรต
ร่างเปลือยเปล่า ทนทรมานด้วยความหิวกระหาย
แต่เมื่อเขากราบกรานพระองค์
เขาก็กลายเป็นจักรพรรดิ
ด้วยอำนาจแห่งบุญบารมีที่ข้าฯ
ได้สั่งสมมาด้วยการสรรเสริญพระองค์ ผู้บริสุทธิ์สะอาด
ผู้ทรงทำให้ความกลัวทั้งหลายต้องมลายไป
ขอให้โลกได้ประสบซึ่งความสุขเถิด
บทสรรเสริญองค์อารยาตาราเทวี รจนาโดยพระอาจารย์จันทรโคมินจบบริบูรณ์
กล่าว กันว่าด้วยการท่องบ่นบทสรรเสริญนี้ พระอาจารย์จันทรโคมินได้ทำให้พระรูปไม้ขององค์ตาราเทวี ยกนิ้วชี้ขึ้น เมื่ออาจารย์ทูลถามพระองค์ว่า “เหตุใดจึงทรงทำเช่นนี้” องค์เทวีดำรัสตอบว่า “ก็เพราะเจ้าแต่งบทสรรเสริญนี้ได้ดี!” หลังจากนั้น องค์ตารานี้ก็เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ตาราผู้ทรงยกน้ิวชี้ขึ้น”
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ แปล
งานเยียวยาจิตใจบนวิถีตารา (Green Tara Retreat)
5-6 กุมภาพันธ์ 2554
บรรยายและนำภาวนาโดยพระอาจารย์ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช (Ringu Tulku Rinpoche)
เรียบเรียงโดย รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
ความไม่มีประมาณสี่ประการ (Four Limitless)
หัวใจของการฝึกปฏิบัติตาราคือการปฏิบัติความเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งจำเป็นต้องฝึกฝนความไม่มีประมาณ 4 ประการได้แก่
1. ความปรารถนาอย่างไม่มีประมาณที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
2. ความปรารถนาอย่างไม่มีประมาณที่จะทำให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นมิตรหรือศัตรู
3. ความปรารถนาอย่างไม่มีประมาณที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าถึงความสุขอันเป็นบรมสุข
4. ความปรารถนาอย่างไม่มีประมาณที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าถึงสันติสุขอันยั่งยืนโดยปฏิบัติต่อทุกคนด้วยจิตอุเบกขา
ใคร ก็ตามที่ฝึกฝนทั้งสี่ข้อ เขาจะอยู่บนวิถีพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ครูบาอาจารย์ได้เคยปฏิบัติมาแล้วและได้ผลจากการปฏิบัตินั้น
บทปฏิบัติตารา/ตาราสาธนะ (Tara Sadhana)
เป็น ชื่อคัมภีร์ที่เน้นให้เราไม่เพียงทำสมาธิเพื่อเปลี่ยนจิตของเราให้เป็นดัง จิตของพระพุทธองค์ แต่ยังยึดพระองค์เป็นสรณะ เจริญโพธิจิต รักษาศีล หลีกเลี่ยงการประกอบอกุศลกรรม บำเพ็ญบุญ และอุทิศบุญกุศล การปฏิบัตินี้จึงเป็นการปฏิบัติโดยสมบูรณ์ที่เน้นปัญญา สมาธิ และการกระทำแห่งความกรุณาในเวลาเดียวกัน บทปฏิบัติมีทั้งขนาดสั้นเป็นพิเศษ สั้น ยาว และยาวเป็นพิเศษ จะใช้บทใดขึ้นอยู่กับเวลาสำหรับการปฏิบัติและสถานการณ์ โดยจะต้องได้รับการรับมอบคำสอนจากคุรุผู้มีคุณสมบัติที่จะสามารถมอบคำสอนได้ ได้รับมนตราภิเษก (empowerment/initiation) ซึ่งเป็นการขอพรจากคุรุและสายการปฏิบัติธรรมของท่าน ได้รับอนุญาตให้นั่งสมาธิถึงพระแม่ตาราและบริกรรมมนตราหัวใจประจำพระองค์
ปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง (Practice to Transform Oneself)
แต่ การฝึกปฏิบัติไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่เรายังต้องฝึกเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราให้ดีขึ้น ดูแลอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง สังเกตปฏิกิริยาโต้ตอบที่เรามักทำเมื่อมีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น โดยมีจุดหมายหลักเพื่อรู้จักตัวตน ถ้าปฏิบัติตารา แต่ไม่พยายามจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น การปฏิบัตินอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังอาจเป็นอันตรายด้วย ทำให้อัตตาเพิ่มพูน และสมาธิที่ฝึกฝนก็เป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีในการทำสมาธิ หากเข้าใจเช่นนี้ การปฏิบัติตาราแม้ว่าจะสืบทอดจากทิเบต แต่เป็นสิ่งสากล ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงชาวทิเบตเท่านั้น
ตารามนตราภิเษก (Tara Empowerment)
1. Purification
ทำความสะอาดอวมงคลในตัวเรา ในชีวิต และอกุศลกรรมที่ได้เคยทำมา ด้วยการอมน้ำมนตร์และบ้วนออกมา
2. Torma Offering
นำ ตอร์มา (เครื่องบูชา/พลี) ที่อุทิศให้แก่ดวงวิญญาณที่ไม่พึงพอใจ ออกไปจากมณฑลพิธี (หิ้งพระที่ตั้งจิตให้เป็นสถานจำลองพุทธเกษตร) การทำขั้นตอนนี้เพื่อขจัดอุปสรรคในการทำพิธีออกไปและทำให้เรารู้สึกว่าได้ รับการคุ้มครอง
3. Tara Story
ริมโปเชเล่าเรื่องพระแม่ตาราใน ขณะเสวยชาติเป็นเจ้าหญิงพระนามว่า “พระจันทร์แห่งปัญญา” ในกัลปะของพระพุทธเจ้าไวโรจนะ พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย ทรงบำเพ็ญบุญกุศล และตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะบำเพ็ญบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ในร่างของสตรีทุกภพทุก ชาติเนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นเชื่อว่าบุรุษเท่านั้นที่จะเข้าถึงการตรัสรู้ เมื่อพระภิกษุในพระราชวังขอให้ทรงตั้งจิตอธิษฐานให้ได้กำเนิดเป็นชาย ทรงกล่าวว่า “ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าบุรุษ หรือสตรี เพราะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ชื่อบุรุษ และสตรีเป็นสิ่งปรุงแต่งจากจิตเปี่ยมด้วยอวิชชาของมนุษย์ เพราะพวกเขาปราศจากความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงความจริงในระดับปรมัติถ์”
4. Sadhana Lineage
บท ตาราสาธนะ บทปฏิบัติมีแบบใดบ้าง สายการปฏิบัติที่ริมโปเชทำพิธีมาจากสมเด็จองค์การ์มาปะที่สาม ผู้รับมนตราภิเษกได้รับพรจากสายการปฏิบัตินี้
5. Preliminary Practice
การปฏิบัติเบื้องต้น
-สวดยึดพระรัตนตรัยและพระอาจารย์ (จตุสรณคมน์) เป็นสิ่งเริ่มต้นสำหรับการปฏิบัติทุกอย่าง
-สวดเจริญโพธิจิต การปฏิบัตินี้ไม่ใช่ประโยชน์ของเราคนเดียว แต่เพื่อสัตว์ทั้งหลายได้รับการหลุดพ้น
-สวดสลายบาปกรรม
-แสดงความปีติยินดีต่อบุญกุศลของพระโพธิส้ตว์ทั้งหลาย
-ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขที่ยั่งยืนและอุทิศบุญกุศล
6. Actual Empowerment
การทำมนตราภิเษก
ถ้า เราเป็นนักเรียนแพทย์ เราเห็นอาจารย์แพทย์เป็นแบบอย่าง ในทำนองเดียวกัน เราเปลี่ยนตัวเราให้เป็นดังพระแม่ตารา เรามองพระองค์เป็นแบบอย่างและเราปฏิบัติอย่างเดียวกับพระองค์
7. Emptiness Mantra
สวดมนตราเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นความว่างที่เป็นสภาวะเดิมแท้
8. Arising of Tara Emblem
ในความว่าง มีดอกบัว บนดอกบัวมีอักขระแทนตาราและจิตวิญญาณของเรา
9. Radiating of Lights
จากอักขระ มีแสงนับพันส่องไปทั่วทั้งสิบทิศ
10. Requesting Buddhas’ Blessings
แสงออกไปสัมผัสพระพุทธเจ้าและพระอริยสัตว์ทั้งหลาย เราได้รับปัญญา กรุณา และพรของพระองค์
11. Consciousness Totally Blessed
แสงแห่งพรย้อนกลับมาที่อักขระ จิตวิญญาณของเราได้รับพรเต็มเปี่ยม
12. Healing Sentient Beings
แสง อีกชุดส่องไปสัมผัสสรรพชีวิต เยียวยาจิตใจของพวกเขา ขจัดอกุศลกรรมของพวกเขา ทำให้กาย วาจา ใจของพวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ ทำให้โรคภัยไข้เจ็บของพวกเขาหมดสิ้นไป ทำให้พวกเขามีความปรีเปรมดิ์และมีความสุข
13. Achievement of Two Benefits
เมื่อแสงทำหน้าที่ทั้งสองแล้ว แสงกลับมาอยู่ที่อักขระ นั่นคือ แสงได้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของเราเองและผู้อื่น
14. Visualization
ตั้ง นิมิตถึงตารา ซึ่งในที่นี้คือ ตาราองค์สีเขียว ผู้ประทับบนดอกบัว มีหนึ่งพักตร์ สองหัตถ์ หัตถ์ขวาอยู่ในท่าประทานพร หัตถ์ซ้ายถือดอกอุบล (ดอกบัวสีน้ำเงิน) ที่บานอยู่ที่พระกรรณ ทรงอาภรณ์และเครื่องประดับในลักษณะสัมโภคกายของพระพุทธเจ้า พระบาทขวายื่นออก พระบาทซ้ายพับเข้า รอบพระองค์มีพระแม่ตาราในลักษณะเดียวกันอีก 4 องค์
15. Receiving Body, Speech and Mind Blessings
ให้คิดว่าผู้ร่วมพิธีได้รับพรจากพระแม่ตารา ทั้งกาย วาจา ใจ
16. Body Empowerment
ริม โปเชประกอบมนตราภิเษก เพื่อสลายอกุศลกรรมทางกายของเรา และเปลี่ยนกายของเราให้เป็นดังพระวรกายของพระโพธิสัตว์ ผู้ร่วมพิธีรับน้ำมนตร์จากโถมงคล
17. Speech Empowerment
ริม โปเชประกอบมนตราภิเษก เพื่อสลายอกุศลกรรมทางวาจาของเรา และเปลี่ยนวาจาของเราให้เป็นดังพระวจนะของพระโพธิสัตว์ ผู้ร่วมพิธีบริกรรมตารามนตรา
18. Mind Empowerment
ริมโปเช ประกอบมนตราภิเษก เพื่อสลายอกุศลกรรมทางวาจาของเรา และเปลี่ยนใจของเราให้เป็นดังพระหทัยของพระโพธิสัตว์ ผู้ร่วมพิธีทำสมาธิถึงพระแม่ตารา
20. Quality Empowerment
ริมโปเชประกอบมนตราภิเษก เพื่อเปลี่ยนคุณลักษณะของเราให้เป็นดังคุณลักษณะของพระโพธิสัตว์
21. Activity Empowerment
ริม โปเชประกอบมนตราภิเษก เพื่อเปลี่ยนการกระทำของเราให้เป็นดังพระกรณียกิจของพระโพธิสัตว์ ผู้ร่วมพิธีได้รับการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการทำงานสานต่อพระกรณียกิจของ พระพุทธเจ้าอย่างไม่มีวันจบสิ้น
22.Receiving Torma Blessings
ผู้ ร่วมพิธีรับพรจากองค์ตอร์มาซึ่งเปรียบเสมือนมันดาลา (มณฑล) แห่งพระแม่ตาราและเหล่าบริวารและทำความเคา รพพระอาจารย์ ให้คิดว่าตัวเราและมันดาลาเป็นหนึ่งเดียวกัน
23. Dedication of Merits
อุทิศบุญกุศล ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่เว้นแม้แต่หนึ่งเดียวได้เข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ
งานเยียวยาจิตใจบนวิถีตารา (Green Tara Retreat)
5-6 กุมภาพันธ์ 2554
บรรยายและนำภาวนาโดยพระอาจารย์ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช (Ringu Tulku Rinpoche)
สถานที่จัดงาน (About Khadiravana)
งาน ภาวนาจัดขึ้นที่ “ขทิรวัน” ซึ่งประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ “ขทิระ” และ “วนะ” หมายถึง ต้นสีเสียด และ ป่า คำนี้จีงหมายถึงป่าขทิระหรือป่าสีเสียด มูลนิธิพันดาราตั้งชื่อสถานปฏิบัติธรรมนี้ว่าขทิรวันเพื่อเป็นเครื่องเตือน ใจถึงพระโพธิสัตว์สตรีในฝ่ายวัชรยาน ผู้ตั้งมหาปณิธานที่จะไม่เสด็จไปนิพพาน แต่จะดำรงอยู่ในโลกทุกภพทุกชาติจนกว่าสัตว์ชีวิตสุดท้ายจะได้รับการหลุดพ้น พระองค์ได้รับการขนานนามว่า “ตารา” หมายถึง ผู้นำไปสู่การหลุดพ้น ป่าขทิระคือสถานที่ที่พระอาจารย์ชาวอินเดียชื่อนาคารชุนได้เห็นนิมิตของพระองค์
พระอาจารย์ผู้นำภาวนา (about Ringu Tulku Rinpoche)
ท่าน ชื่อ ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช เป็นพระอาจารย์สำคัญของพุทธวัชรยาน ท่านสืบคำสอนของนิกายกาจูร์ปะ ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนสมเด็จองค์การ์มาปะในยุโรป ริงกุ เป็นชื่อ ชุมชนชนเผ่าเร่ร่อนที่เป็นบ้านเกิดของท่านในแคว้นคาม ทิเบตตะวันออก ทุลกุ เป็นฉายาสำหรับพระอาจารย์ผู้ได้รับการประกาศว่าเป็นผู้กลับชาติมาเกิด ริมโปเช เป็นคำเรียกพระอาจารย์ (ลามะ) โดยความหมายตรงตัวคือ ผู้ประเสริฐ เมื่ออายุได้ 4-5 ปี ทิเบตเสียเอกราชและริมโปเชต้องลี้ภัยไปสิกขิม
คำสอนของพระอาจารย์ (Rinpoche’s Teachings and Work)
ท่าน เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับคำสอนในสามยานของพระพุทธศาสนา การฝึกจิต และปรัชญาแบบรีเม (ไม่แบ่งแยกนิกาย) ท่านตั้งองค์กรการกุศลชื่อ โพธิจริยา (Bodhicharya) ในเบลเยี่ยม เน้นการทำงาน 3 ด้าน คือ การให้ความช่วยเหลือ การเยียวยาจิตใจ และการประสานความสัมพันธ์ ท่านพูดเสมอว่า เราต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ผู้อื่นและประเพณีทางจิตวิญญาณอื่นๆ เราจึงจะฉลาดขึ้นและมีความเข้าใจอย่างแท้จริง ท่านยังให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
การงานของพันดารา (1000 Stars Work)
นอกจากสร้างสถานปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทิเบต/หิมาลัยแล้ว มูลนิธิยังดำเนินการก่อสร้างพระมหาสถูปเพื่อสันติภาพของโลกซึ่งอุทิศแด่พระ โพธิส้ตว์ตารา ผู้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานของมูลนิธิ ริงกุ ทุลกุ ริมโปเชกล่าวชื่นชมการงานของมูลนิธิ ชมขทิรวันว่ามีความงดงาม และท่านมีความปีติยินดีที่ได้กลับมาสถานที่ที่กำลังก่อสร้างพระมหาสถูปตารา ท่านบอกว่าขทิรวันมีความก้าวหน้าหลายอย่าง ท่านแสดงความยินดีและอนุโมทนากับอาจารย์กฤษดาวรรณและสังฆะพันดาราทุกคน
พระแม่ตารา (Bodhisattva Tara)
เรื่องราวของพระองค์เกี่ยวโยงกับการบำเพ็ญเพียรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ ยังทรงเป็นพระโพธิส้ตว์ดังที่เราเคยอ่านหรือได้ยินจากนิทานชาดก ก่อนที่จะทรงเข้าถึงการตรัสรู้ ทรงบำเพ็ญบารมีหกของพระโพธิสัตว์ และตั้งปณิธานว่าจะเกิดเป็นสตรีในทุกภพทุกชาติเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกทั้ง หลาย ด้วยความรักและกรุณาอันไม่มีขีดจำกัดของพระองค์ ทรงได้รับการขนานนามว่า “พระโพธิสัตว์ผู้ทรงเป็นนิรันดร์” พระองค์ทรงเข้าถึงการตรัสรู้ด้วยวิริยะอุตสาหะในการสั่งสมบุญบารมี ช่วยเหลือสัตว์โลก และเข้าถึงปัญญาญานอันยิ่งใหญ่ แต่ทรงขอดำรงอยู่ จึงได้รับพระนามว่า พระโพธิสัตว์
การภาวนาถึงตารา (Tara Practice)
ปณิธาน ของพระแม่ตารา : ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ เอ่ยพระนามของพระองค์ บูชาพระองค์ ขอให้เขาเป็นอิสระจากความกลัวและภัยอันตรายทั้งหลาย ขอให้เขาได้รับการปกป้องและขอให้คำอธิษฐานของเขาสมประสงค์ กล่าวกันว่า พรของพระองค์รวดเร็ว ดุจดังแม่ที่ตอบสนองต่อลูกทันทีที่ลูกเรียกหา
ผู้ภาวนาถึงตารา (Tara Great Devotees)
ครูบาอาจารย์หลายท่านผูกพันกับพระองค์และสวดบูชาพระองค์เป็นนิจสิน เช่น ท่านนาคารชุน อตีศะทีปังกร องค์การ์มาปะที่สาม องค์ดาไลลามะที่หนึ่ง และพระอาจารย์หลายท่านสืบจนปัจจุบัน ในจำนวนท่านทั้งหลาย ท่านอตีศะ (ต้นศตวรรษที่ 11) เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ใน สมัยนั้นพุทธวัชรยานเสื่อมลงเนื่องจากเกิดการปลงพระชนม์กษัตริย์ ทำให้ขาดผู้นำทางการปกครองและทางจิตวิญญาณ ท่านยีชี เออ มีความประสงค์จะนิมนต์พระอาจารย์อตีศะมาทิเบต แต่ระหว่างทางถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ โจรต้องการทองเท่าตัวของท่านจึงจะปล่อยตัว หลานชายของท่านหาทองให้ท่านได้จนเกือบเท่าตัวแล้ว แต่โจรบอกว่ายังไม่พอเพราะเอาตัวไปได้แต่เอามือไปไม่ได้ ท่านมีหนังสือลับถึงหลานว่า ไม่ต้องไปหาทองมาอีก ท่านแก่แล้ว ขอให้นำทองนั้นไปถวายพระอาจารย์เพื่อนิมนต์ท่านมาทิเบตดีกว่า จะเป็นประโยชน์มากกว่า หลานของท่านจึงเดินทางไปเชิญท่านอตีศะมาทิเบต
อตีศะภาวนาถึงตารา (Atisha’s Praying to Tara)
เพราะ ท่านอตีศะผูกพันกับพระแม่ตารามาก ท่านจึงภาวนาถึงพระองค์ขอให้ทรงดลใจให้ท่านตัดสินใจได้ถูกต้องว่าจะไปทิเบต ดีหรือไม่ เหล่าสาวกของท่านล้วนแต่กังวลใจ เพราะทิเบตดูเป็นดินแดนป่าเถื่อน เต็มไปด้วยคนกินคน สูงและหนาวเย็น ท่านอตีศะเดินทางไปสวดภาวนาที่โพธิคยา ซึ่งมีพระรูปพระแม่ตาราอยู่ ที่นั่นท่านได้นิมิตพระแม่ตารา พระองค์บอกท่านว่า ถ้าท่านไปทิเบต ท่านจะทำประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ชีวิตท่านจะสั้น ท่านจะไม่ได้กลับมาอินเดียอีก ท่านอตีศะตัดสินใจไปทิเบตเพื่อไปทำประโยชน์ในการเผยแผ่พระธรรม และมรณภาพในทิเบตในเวลาต่อมา ท่านเป็นต้นกำเนิดของสายกาดัมปะ (Kadampa) ซึ่งได้กลายมาเป็นนิกายสาเกียปะ (Sakyapa) และนิกายเกลุกปะ (Gelugpa)
โพธิจิตกับการปฏิบัติบูชาตารา (Bodhicitta & Tara Practice)
หัวใจหลัก คือ โพธิจิต เป็นการบ่มเพาะความกรุณาด้วยปัญญา เป็นความกรุณาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู เราปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ การปฏิบัตินี้จึงเน้นที่ผู้อื่นเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้เน้นที่ตัวเรา แต่ไม่ได้หมายความว่าการคิดเกี่ยวกับความทุกข์ของผู้อื่นจะทำให้เราเป็น ทุกข์ หรือท้อแท้ ตรงกันข้าม กลับทำให้เรามีพลังทางบวกมากขึ้น มีแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิตอย่างมีความหมายมากขึ้น ในการปฏิบัตินี้ เราให้พระแม่ตาราเป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อให้เราเข้าถึงปัญญาและกรุณาเช่นเดียวกับของพระพุทธเจ้าที่มีอยู่ภายในตัวเรา
Memories from Ringu Tulku Rinpoche’s second visit to Khadiravana Center and Green Tara Retreat (5-6 February 2011)
การเยือนศูนย์ขทิรวันครั้งที่สองและภาวนา ” เยียวยาจิตใจบนวิถีตารา”
February 5-6, 2011, Khadiravana Center
Rinpoche relaxed on a rock overlooking the Tara Great Stupa project. He said this rock was a natural chair. It’s pleasant looking at all the mountains surrounding the center.
ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช พักผ่อนบนก้อนหินข้างต้นไทร มองดูความก้าวหน้าของการก่อสร้างพระศานติตารามหาสถูป ท่านบอกว่า ก้อนหินนี้เป็นเก้าอี้ธรรมชาติ และท่านรู้สึกสบายที่เห็นภูเขารายล้อมศูนย์
Rinpoche and students at our Tibetan mud house.
ริมโปเชและศิษย์ที่เรือนปฏิบัติธรรมบ้านดินทิเบต
Three years ago (November 2007) Rinpoche came to Thailand for the first time. He performed a White Tara empowerment at Khadiravana. At that time, there is only the Mantra Stupa.
ตอร์มา สัญลักษณ์แทนพระแม่ตาราและเหล่าบริวารของพระองค์ในมณฑลพิธี
Thousands Stars Foundation – Fondation des Milles Etoiles
‘ Celui qui voit, entend, se souvient ou touche la Stupa, recevra toutes les joies et benedictions du Bouddha”
Au commencement
Le bouddhisme est originaire d’Asie et y est totalement integré dans la culture depuis des milliers d’années. La présence de temples, de moines et nonnes universellement révérés en témoigne. L’avancée économique du monde et l’approche matérialiste de la vie génèrent un besoin accru de compréhension des textes et leçons du Bouddha. La régression du nombre de personnes qui vivent dans le bonheur et la joie de vivre profonde est aussi une manifestation négative de modes de vie matérialistes.
De plus en plus nombreux sont ceux et celles qui à la recherche de réponses satisfaisantes en ce qui concerne leurs besoins spirituels se rapprochent d’une des differentes écoles du bouddhisme à savoir, le Theravada, le Mahayana ou leVajrayana. Ces écoles représentent diverses portes ouvrant sur une même destination et illumination.
Un autre aspect lié à ce renouveau du bouddhisme est représenté par le nombre croissant de persones désirant suivre la voie bouddhiste sans nécéssairement s’engager dans une vie monastique. Pour la plupart d’entre eux, le fait même d’embrasser les enseignements du Bouddha dans leur vie quotidienne représente le defi nécéssaire pour d2velopper la bodhicité d’une manière pratique et concrète tout en continuant à mener leur vie et responsabilités respectives. Actions, pensées, paroles peuvent petit à petit s’aligner sur les enseignements du Bouddha.
Dr Krisadawan Hongladarom, qui parle Thai, Anglais et Tibétain courramment, partage le sentiment commun à beaucoup de Thais que la bodhicité, la nature de Bouddha existe en tout en chacun. C’est ce qui donne aux laiques le droit d’apprendre et pratiquer le Bouddhisme tout en vivant leur roles de mères, pères, fils ou employeurs. Sa rencontre avec plusieurs Lamas, hommes et femmes, durant ces 10 dernieres annnées, l’observation de la façon dont le Bouddhisme a inspiré leurs vies ainsi que ses expériences directes avec la culture Tibétaine l’ont convaincue que les enseignements du Bouddhisme Mahayana offrent une opportunité pour les laiques de mieux comprendre le Bouddhisme, et leur permet d’ouvrir une autre de ces ‘portes’ vers l’objectif commun, l’illumination
En 2005, Krisadawan fonde la Fondation des Milles Etoiles une Organisation Sans But Lucratif qui s’engage à (a) créer des opportunités de discussions et pratique du Dharma Mahayana pour laiques par le biais de Conférences et pratique individuelle, (b) améliorer les conditions de vie des tibétains dans les régions éloignées du Tibet; (c) appuyer des monastères tibétains dans les régions eloignées du Tibet en particulier dans les Provinces du Kham qu Tibet Oriental.
En ce moment, la Fondation est responsable du projet de construction de la Shanti Tara Stupa au Centre de Retraite Khadiravana de Hua Hin dans la Province de Prachuab Kirikan en Thailande. Des Thais aussi bien que des étrangers participent au projet et c’est avec enthousiasme que les membres de la Fondation partagent la même passion et amour de la vie, la culture et le Bouddhisme du Tibet.
Source inepuisable d’inspiration
Krisadawan s’est toujours intéressée au Bouddhisme. Eduquée dans la tradition Theravada, son intérêt pour la religion était si fort qu’elle contemplait la possibilite de devenir nonne bouddhiste. C’est lors de son engagement en tant que représentante d’une organisation de jeunes bouddhistes qu’elle comprit que s’engager dans le bouddhisme ne requiert pas nécéssairement de quitter la vie laique et devenir nonne et qu’il existe bien d’autres façons de pratiquer les enseignements bouddhistes. Sa rencontre avec le bouddhisme tibétain lors d’un voyage au Nepal fut significatif quant à sa décision d’ entreprendre un Doctorat en linguistique à l’Université d’Indiana aux Etats Unis. Sa connaissance de la linguistique la guida à devenir interprète pour des Lamas Tibétains de renom. Pendant des années la gentillesse des Lamas la toucha et fut à l’origine de sa volonté à suivre leurs pas. Alors qu’elle menait ses recherches ethnographiques au Tibet et la Province de Kham, Krisadawan devint éetudiante de Kunga Sangbo Rinpoche, le responsable du Monastère de Jyekundo de Kham, au Tibet Oriental. Pendant plus de neuf mois elle observa l’engagement et la compassion de Kunga Sangbo Rinpoche alors qu’il travaillait à construire une école dans son village natal où la plupart des enfants étaient illétrés ainsi qu’à restaurer des Monastères.
Krisadasawan explique que “ Même en n’ayant de très peu d’argent, il ne penserait pas à lui-même mais à comment utiliser cet argent pour améliorer la vie des autres villageois. C’est ce qui m’a fait penser à utiliser mes connaissances pour faire de bonnes actions pour les autres.
C’est ainsi qu’au lieu de suivre son premier rêve et entrer dans l’ordre des nonnes bouddhistes; elle décida de suivre le conseil de Kunga Sangbo Rinpoche et d’utiiser ses connaissances en textes Bouddhistes ainsi que ses connaissances de linguistiques pour en faire profiter les autres tout en restant laique. Avec le desir d’atteindre la bodhicité tout en participant à la vie laique et toutes les responsibilités qu’elle comporte ainsi que de suivre les actions du Bouddha, elle se demanda comment integer toutes ses idées fantastiques
La Fondation des Milles Etoiles
‘ Un jour Avalokiteshvara, alors qu’il refusa de quitter le Samsara jusqu’à ce que tous les êtres aient atteint l’illumination, vit la quantite de vies qu’il avait à aider alors qu’autant de vies etaient encore en souffrance dans le Samsara. Des larmes coulaient de ses yeux et se transformèrent en Tara Blanche sur une fleur de lotus. Elle le conforta et lui demanda de ne pas pleurer et exprima le voeu de l’aider et le suivre dans toutes les vies afin d’aider tous les etres. “
L’histoire de Tara exprimant le voeu d’aider tous les êtres inspira beaucoup Krisadawan qui se sentit très proche de cette bodhisatva de sexe féminin. C’est ainsi que nacquit la Fondation des Milles Etoiles. Pour la première fois elle se rendit compte de l’utilité pratique de sa connaissance de la langue Tibétaine et son implication pour cultiver la compassion et en même temps donner une opportunité pour aider les autres. A l’occasion d’offertes qu’elle fit un jour à la Statue de Tara à Dzachuka elle exprima le voeu de suivre Tara afin de l’aider dans toutes ses vies. Peu après la foi la porta à rencontrer Kandroma, une Lama femme de grand renom fille du Lama Longtok décédé peu auparavant en laissant son corps intact. Kandroma avait des difficultés à construire l’hermitage de son père et Krisadawan fut impressionée par sa détermination à transformer un petit hermitage en un monastère pour nonnes. C’est ensemble qu’elle pratiquèrent Longchen Nyingtik et en 2007 l’établissement de Zangtok Pari devint le premier projet appuyé par la Fondation Milles Etoiles en même temps que le Fonds Global pour les Femmes et le Fonds d’Appui aux Etats Unis. L’hermitage abandonné devint un monastère pour nonnes bien établit pouvant héberger 15 nonnes.
Depuis 2005, la Fondation à appuyé des initiatives en faveur d’enfants tibétains et des nonnes ainsi qu’organisé des Conférences publiques servant à promouvoir la culture tibétaine, la paix,l’études de textes Mahayana et les pratiques bouddhistes quotidiennes. Jusqu’a présent des invités locaux et internationaux ont contributes de leur temps et connaissances pour chacunes des nombreuses Conférences organisées par la Fondation. Parmi eux Nyima Dakpa RInpoche, Ringu Tulku Rinpoche, Phachok Rinpoche, le Docteur Tsedor Nyarongsha et l’historien Professeur Thubten Phuntsok.
Un nouveau projet
Un lama, ou guru, représente la pensée du Bouddha et dans la tradition Mahayanal’interconnection entre le maitre et l’etudiant se manifeste par le biais de la foi et du karma. La rencontre de Krisadawan et Kundrol Lhasay Rinpoche, un maitre Dzogchen très vénéré de la tradition New Bon qui vivait à Chengdu, en Chine, appartient à un domaine au delà de la simple relation par la pratique de la méditation.
En 2006, Krisadawan acheta un lopin de terre à Hua Hin, Province de Prachuab Kirikan, en Thailande. Un endroit calme et paisible et idéal pour y établir un centre de retraite et un temple dedié à Tara où des laiques pourraient venir prier. Cet endroit représenterait un environment accueillant pour tous hommes et femmes mais surtout femmes. Cet endroit servirait aussi à l’établissement de la première bibliothèque et centre d’éducation Tibétain en Asie du Sud Est.
C’est au même moment que Lhasay Rinpoche demanda à Krisadawan d’entreprendre un grand projet de construction de la Stupa de Shanti Maha Tara. Malgre son humilité et le profil bas qu’il arbore généralement en dehors du Tibet, Lhasay Ripoche avait cette vision de construire la grande stupa en Thailande et en faire un des endroits les plus sacrés sur terre, un endroit où les gens sont déjà engagés sur la voie du Bouddhisme dans leurs coeurs et leurs façons de vivre.
“Ceci [la stupa] est ton projet. Mais il n’est en fait ni le tien ni le mien ; car aucun de nous pourra le rapporter au Tibet lorsque notre corps quittera ce monde.’
La requête de Lhasay Rinpoche est une expression de la confiance et confidence qu’il nourrit pour Krisadawan et ses capacités à entreprendre ce projet qui paraitrait impossible de prime abord. Pendant que Krisadawan rassemblait l’information nécéssaire sur la construction de stupas, Lhasay Rinpoche envoyait un grand nombres de drapeaux à prèàres depuis son village natal pour la construction de la Stupa avec des mantras appuyant le projet qui s’établirait pour la premiere fois en Thailande au Centre de Khadiravana.
Les drapeaux à prières sont composés de cinq couleurs : bleu, vert, rouge, blanc et jaune. Ces couleurs représentent le ciel, l’air, le feu, l’eau, et la terre et ensemble représentent t les elements du cosmos.
A chaque souffle de vent, les drapeaux s’agitent et envoyent les mantras écrit sur les drapeaux au centre de l’Univers, pour y générer la paix et le bonheur. Les cinq couleurs représentent à la fois les cinq familles Bouddhistes, ou les cinq skandhas et la diversité culturelle de chacun d’entre nous qui pouvont agir ensemble pour créer la paix et l’harmonie.
En ce moment
Ce projet démarra en 2007 à la suite des prosternations aue Krisadawan entreprit pendant dix-huit jours sur une distance d’environ 80 kilomètres du temple de Nyethang Tara près de Lhassa au Monastère de Samye. Cette initiative qui avait pour but de gagner du mérite lui donna en fait une énorme quantité d’énergie et une grande détermination pour entreprendre ce projet ambitieux de construction.
La Fondation Des Milles Etoiles est convaincue que le projet de la Shanti Tara Stupa sera bénéfique à tout le monde, à tout être qui voit, touche ou entend parler de la Stupa. Ce projet contient une force de guérison et nous rappelle la bonté et la détermination positive qui réside en toutes actions faites en faveur des autres.
Cette croyance devrait transcender toutes les limites du monde et s’unir à divers systèmes de croyances et nationalités comme le fait Tara qui a la détermination d’aider tout ce qui est possible pour aider le monde entier. Enfin, le projet devrait représenter une source d’inspiration pour tout un chacun, individu, homme ou femme, aàpoursuivre notre rêve de rendre ce monde meilleur.
Plus d’informations sur le site: www.thousand-stars.org
Email: hkesang@yahoo.com
Telephone+66-81-3431586
The Thousand Stars Foundation is grateful to Isabella (http://reikiinaction.blogspot.com) for this French translation.