Meditation Courses and Retreats, Kundrol Dechen Ling หลักสูตรภาวนานี้เป็นจุดหมายปลายทางในแนวทางการปฏิบัติธรรมของมูลนิธิพันดาราและเป็นหัวใจของการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม “ขทิรวัน” หรือ “กุนเทรอ เตเช็นลิง” Continue reading

Meditation Courses and Retreats, Kundrol Dechen Ling หลักสูตรภาวนานี้เป็นจุดหมายปลายทางในแนวทางการปฏิบัติธรรมของมูลนิธิพันดาราและเป็นหัวใจของการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม “ขทิรวัน” หรือ “กุนเทรอ เตเช็นลิง” Continue reading
The Prayer for purification, the path of liberation from bardo.
คัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบตได้มอบองค์ความรู้และการปฏิบัติยิ่งใหญ่ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมตัวพวกเราสำหรับการพลัดพรากและจากลาเมื่อเวลาสุดท้ายมาถึง ยังเป็นการทำกุศลแก่ผู้จากไปโดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งล่วงลับ
ความหมายของลัมริม
ลัมริม (Lamrim) หมายถึงการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นลำดับขั้น หรือบางทีเรียกว่า ชังฉุบ ลัมริม (Changchub Lamrim) หรือการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นลำดับขั้นเพื่อการตรัสรู้ธรรม
การปฏิบัติเกี่ยวกับความฝันได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในพระพุทธศาสนาวัชรยานโดยเฉพาะในนิกายที่มีคำสอนว่าด้วย “อุบายวิธีหก” (ทับทรุก)
พระรัตนตรัยในพุทธวัชรยาน ประกอบด้วย Continue reading
สายธรรมสมบัติกลาง (อูเตร)
รู้จักพุทธวัชรยาน
ในพุทธทิเบตที่เราเรียกว่า “พุทธวัชรยาน” ไม่ได้ประกอบด้วยหนทางการปฏิบัติธรรมเดียว มีหลายวิธีการและหลายมรรควิถีในยานใหญ่นี้ ซึ่งแม้จะมีพื้นฐานอุดมคติเดียวกัน นั่นคือ การเข้าถึงโพธิญาณเพื่อกลับมายังประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ แต่รูปแบบและการมองโลกอันนำไปสู่การอุทิศตนเพื่อสัตว์โลกแตกต่างกัน
วิถีแห่งการละโลก (Renunciation Way)
ผู้ดำรงอยู่บนหนทางของการละโลก ดังเช่นนักบวชมุ่งเน้นขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้ว ละวางจากเรือนและการงาน ทุ่มเทชีวิตเพื่อค้นหาสัจธรรมและทำงานทางธรรม โดยในทิเบตเน้นการศึกษาพระสูตร พุทธปรัชญา โต้วาทีธรรม สร้างเครื่องรองรับกาย วาจา ใจของพระพุทธเจ้า (หล่อพระ ชำระคัมภีร์ สร้างวิหาร สถูปเจดีย์) และจำศีลภาวนา จนได้รับการสลายบาปกรรมและจิตเกิดปัญญารู้ธรรม
ดังเช่นโอวาทของพระอาจารย์ซูเชน ริมโปเชที่ให้แก่พระภิกษุที่วัดของท่านว่า
“ท่านทั้งหลายมาบวชในวัดขอให้จำใส่ใจว่ามีเพียงจุดหมายหลักสองประการ คือเพื่อขัดเกลาตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้มีเวลาและความเพียรในการทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการปฏิบัติธรรม และเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระพุทธธรรมจนสามารถสืบพระวจนะของพระพุทธองค์ไปยังผู้คนในสังคมและในรุ่นอายุต่อไป หากมีเป้าหมายอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ก็ขอให้ทราบว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายของวัด”
พระในวัดจึงได้รับการสอนให้ศึกษาพระสูตร พระอรรถกถา และวิชาความรู้อันเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ของทิเบต เรียกว่า ศาสตร์ใหญ่ห้า ได้แก่ หัตถศิลป์ (รวมการหล่อพระ ทำงานพุทธศิลป์) ศาสตร์แห่งการบำบัดรักษา (การแพทย์) ภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และพุทธศาสตร์
แม้ว่าในหมู่พระภิกษุผู้มีสติปัญญาดีและมีความตั้งใจที่จะทำประโยชน์แก่สรรพสัตว์ได้อย่างรวดเร็วจะมีโอกาสได้รับคำสอนเพิ่มเติมในสายตันตระและ/หรือซกเช็นซึ่งเน้นการมองโลกในอีกลักษณะและเน้นการทำสมาธิในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การรู้แจ้งที่รวดเร็วขึ้นเพื่อให้ได้ทำประโยชน์แก่สัตว์โลกได้เร็วขึ้น พระภิกษุโดยทั่วไปใช้เวลาส่วนใหญ่กับการศึกษาพระสูตรเป็นสำคัญ
พระภิกษุมีศีลที่กำหนดรูปแบบพฤติกรรมและการตั้งจิต จำนวนศีลมีตั้งแต่ 25 ข้อ (สำหรับสามเณร) ไปจนถึง 250 ข้อ อย่างไรก็ตาม พระภิกษุของทิเบตส่วนใหญ่ยังถือศีลมากกว่านี้ ได้แก่ ศีลโพธิสัตว์ซึ่งเป็นหัวใจของความเป็นพุทธมหายานและศีลตันตระซึ่งเน้นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์อีกชุดหนึ่งที่เรียกว่า คัมภีร์ตันตระ
หลังพระอาจารย์อตีศะ Atisha (ค.ศ. 980-1054) เข้ามาในทิเบต ท่านได้สังคายนาพระธรรมวินัย ได้สร้างระบบการปฏิบัติเพื่อเน้นวิถีของพระสูตรให้เข้มแข้ง ก่อนหน้านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมทิเบตเป็นโยคีและโยคินีเป็นหลัก วิถีนี้ได้รับการสืบต่อและมีความรุ่งเรืองอย่างมาในสมัยพระอาจารย์ซงคาปา Tsongkhapa (ค.ศ. 1357-1419) จนกลายมาเป็นนิกายเกลุกปา ซึ่งได้กลายมามีอำนาจทางการเมืองในสังคมพุทธทิเบต
หากดูตามเป้าหมายของสายการปฏิบัติแห่งการละโลก ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกให้ปล่อยวางจากกระแสโลก มิได้เพื่อให้เห็นแก่ตัว ให้ดูดายต่อความทุกข์ยากของผู้คนในสังคม แต่เพื่อให้ทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการหลุดพ้นอันจะนำมาสู่การช่วยเหลือสรรพสัตว์ในหลายภพหลายชาติและได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า นักบวชจะเอาแต่โต้วาทีธรรม หรือสวดมนต์ทำสมาธิ ในยามที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เช่น เกิดภัยพิบัติ เรากลับเห็นเหล่านักบวชทั้งหญิงและชายผนึกกำลังกัน ออกมาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยบำบัดความทุกข์ของผู้คน และในสังคมทิเบตเอง เราก็เห็นพระออกมาประท้วง แม้แต่จนเผาตัวเองตาย
เราได้พูดถึงพระภิกษุ แต่ไม่ได้พูดถึงภิกษุณีและสามเณรีซึ่งในทิเบตยังขาดความเข้มแข็ง เพราะโอกาสที่ผู้หญิงจะได้ปฏิบัติธรรรมด้วยการเกื้อกูลจากสถาบันหรือองค์กรมีน้อยมาก นักบวชต้องสร้างเรือนภาวนาเอง ต้องหาอาหารรับประทานเอง (ไม่มีระบบการออกบิณฑบาตรเหมือนในไทย) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เริ่มมีการสร้างสถานปฏิบัติธรรมของผู้หญิงมากขึ้น วันหนึ่ง เราคงเห็นนักบวชหญิงได้โต้วาทีธรรมและศึกษาพระธรรมอย่างเต็มที่ดังเช่น โอกาสที่นักบวชชายได้รับ
ยังมีมรรควิถีตันตระและซกเช็น (อื่นๆ) ซึ่งหล่อหลอมความเป็นพุทธทิเบตเอาไว้ หากใครปรารถนาจะเข้าใจทิเบต จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเพิกเฉยต่อการศึกษามรรควิถีเหล่านี้ และในสายทิเบตไม่ได้เน้นว่าเฉพาะผู้ออกบวชเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมและสามารถเข้าถึงการรู้แจ้ง
กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล
รูปประวัติศาสตร์ พระอาจารย์ใหญ่ของทิเบต…
สมเด็จองค์ดาไลลามะประทับยืนอยู่ตรงกลาง ทางขวาของพระองค์คือสมเด็จสาเกีย ทริซิน ริมโปเช (ประมุขนิกายสาเกียปะ) และสมเด็จซูชิกริมโปเช (อดีตประมุขนิกายญิงมาปะ) ทางซ้ายของพระองค์คือสมเด็จแมนรี ทริซิน ริม
เมื่อสองปีก่อนศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลเชิญฉันไปบรรยายเรื่องภูมิปัญญาทิเบตที่โยงกับชีวิตและการเมือง โดยคำว่าการเมืองในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องจีน-ทิเบต แต่เป็นความขัดแย้งโดยทั่วไปในสังคมรวมไปถึงความขัดแย้งในทางศาสนาด้วย
ในช่วงท้ายเรามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จำได้ว่าเป็นการสนทนาที่สนุกมากเมื่อฉันพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวทิเบต คือ ชาที่ไม่ได้มีรสหวานแบบที่คนไทยเรารู้จักกัน หรือรสจืดออกขมแบบชาดำทั่วไป แต่กลับเป็นชาที่มีรสเค็ม มัน จนออกเลี่ยน ที่เราเรียกกันว่า ชาเนย เพราะมีการนำเนยมาตำกับน้ำชาต้มเดือดในกระบอกไม้ตามด้วยการเหยาะเกลือเล็กน้อยแบบที่อาจารย์เยินเต็นได้สาธิตให้ดูในเทศกาลชาอาทิตย์ที่แล้ว
ในการบรรยายวันนั้นเราได้คุยกันเรื่องความสำคัญของภูมิปัญญาทิเบตต่อมนุษยชาติ ความสำคัญของจิตวิญญาณที่เน้นความรักความกรุณาอย่างไม่มีเงื่อนไข ความสุขที่เกิดจากความพึงพอใจอย่างแท้จริง ศรัทธาอันมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงไร และความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศจนทั่วโลกต้องจับตาดู แม้แต่พระอาจารย์ชั้นสูงของไทยท่านหนึ่งยังเคยปรารภว่าชาวทิเบตเป็นชนชาติที่อดทนมากที่สุดในโลก
แม้ภูมิปัญญาทิเบตจะมีสิ่งที่น่ายกย่องชื่นชม แต่เราต้องแยกภูมิปัญญาออกจากประเพณีซึ่งได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมตลอดจนความเชื่อพื้นบ้าน เหมือนกับการจะทำให้ชาทิเบตเป็นเครื่องดื่มที่อร่อยในเขตเมืองร้อนแบบบ้านเรา เราจำเป็นต้องทำให้ชานี้ละลายจากไขมัน เอารสเลี่ยนออกไป และอาจต้องเอารสเค็มออกไปด้วย เหลือแต่ตัวเนื้อชาล้วนๆที่ยังคงความเป็นชาทิเบตเอาไว้ พระพุทธศาสนาวัชรยานก็เช่นกันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยเมื่อเราไม่ยึดติดที่รูปแบบประเพณี แต่ดูที่แก่นธรรมและจิตวิญญาณภายในที่มีความเป็นสากลและเป็นอกาลิโก
เมื่อเราดูที่แก่นธรรมเช่นนี้ ไม่ว่าภายนอกเราจะแต่งตัวอย่างไร จะสวมใส่ลูกประคำหรือไม่ ไม่สำคัญ และเมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะช่วยกันรักษาภูมิปัญญาของทิเบตให้ไม่หายสูญไปและจะมีส่วนช่วยให้ภูมิปัญญานี้เติบโตเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำความดี
ภาพประกอบ : ไม่ทราบแหล่ง แต่เพื่อนทิเบตคนหนึ่งชื่อเท็นซินเป็นผู้ส่งมาให้
Attached photo was sent to me from our friend Tenzin.